เมนู

ของเราไม่มี, ในวันนี้แหละเราบรรลุพระอรหัตแล้ว จักให้พระศาสดา
ตรัสปราศรัยกับด้วยเรา." ภิกษุแม้เหล่านั้นทูลลาพระศาสดาว่า " พวก
ข้าพระองค์อันอุบาสกคนหนึ่ง ในหนทางเป็นที่มา นิมนต์เพื่อฉันเช้าใน
วันพรุ่งนี้ จักไปในที่นั้นแต่เช้าเทียว." ลำดับนั้น ภิกษุผู้สหายแห่งภิกษุ
เหล่านั้น เดินจงกรมตลอดคืนยังรุ่ง ล้มลงที่แผ่นหินแผ่นหนึ่งในที่สุด
จงกรม ด้วยอำนาจแห่งความหลับ. กระดูกขาแตกแล้ว. เธอร้องด้วย
เสียงดัง.
พวกภิกษุผู้เป็นสหายเหล่านั้นของเธอจำเสียงได้ ต่างวิ่งเข้าไปข้าง
โน้นและข้างนี้. เมื่อภิกษุเหล่านั้น ตามประทีปทำกิจที่ควรทำแก่ภิกษุนั้น
อยู่นั่นแล, อรุณขึ้นแล้ว. ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้โอกาสไปบ้านนั้น.

ทรงแสดงชาดกในเรื่องไม่รู้จักกาล


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวก
เธอไม่ไปสู่บ้าน เป็นที่เที่ยวภิกษาหรือ ? ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับว่า " อย่าง
นั้น พระเจ้าข้า " แล้วกราบทูลเรื่องนั้น. พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนั่นทำอันตรายลาภของพวกเธอในบัดนี้เท่านั้นหามิได้, แม้
ในกาลก่อน เธอก็ได้ทำแล้วเหมือนกัน" อันภิกษุเหล่านั้นทูลวิงวอน
แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา ตรัสชาดก1ให้พิสดารว่า:-
" บุคคลใด ย่อมปรารถนาจะทำกิจที่ควรทำก่อน
ไว้ (ทำ) ภายหลัง, บุคคลนั้น ย่อมเดือดร้อนภาย-
หลัง, เหมือนมาณพผู้หักกิ่งไม้กุ่มฉะนั้น."

1. ขุ. ชา. 27/23. อรรถกถา. 2/119. วรุณชาดก.

ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นได้เป็นมาณพ 500 ในกาลนั้น, มาณพผู้
เกียจคร้านได้เป็นภิกษุนี้, ส่วนอาจารย์ได้เป็นพระตถาคตด้วยประการฉะนี้.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย ก็บุคคลใดไม่ทำความขยัน ในกาลที่ควรขยัน เป็นผู้มีความ
ดำริอันจมแล้ว เป็นผู้เกียจคร้าน, บุคคลนั้นย่อมไม่บรรลุคุณวิเศษอันต่าง
โดยคุณมีฌานเป็นต้น" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
3. อุฏฺฐานกาลมฺหิ อนุฏฺฐหาโน
ยุวา พลี อาลสิยํ อุเปโต
สํสนฺนสงฺกปฺปมโน กุสีโต
ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ.

" ก็บุคคลยังหนุ่มแน่นมีกำลัง (แต่) ไม่ขยันใน
กาลที่ควรขยัน เข้าถึงความเป็นผู้เกียจคร้าน มีใจ
ประกอบด้วยความดำริอันจมแล้ว ขี้เกียจ เกียจคร้าน
ย่อมไม่ประสบทางด้วยปัญญา."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุฏฺฐหาโน ความว่า ไม่ขยันคือ
ไม่พยายาม. สองบทว่า ยุวา พลี ความว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในความเป็นคน
รุ่นหนุ่ม ทั้งถึงพร้อมด้วยกำลัง. สองบทว่า อาลสิยํ อุเปโต ความว่า
ย่อมเป็นผู้เข้าถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้เกียจคร้าน คือกินแล้ว ๆ ก็นอน.
บทว่า สํสนฺนสงฺกปฺปมโน ความว่า ผู้มีจิตประกอบด้วยความดำริอันจม